วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ไวยากรณ์อังกฤษโดยย่อ

ไวยากรณ์อังกฤษโดยย่อ

ไวยากรณ์ ถือ เป็น ระเบียบของภาษาที่สำคัญ การที่จะใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องสละสลวยนั้น เราจำเป็นจะต้องรู้หลักเกณฑ์ใหญ่ๆ ของภาษาไว้บ้าง ส่วนราบละเอียดปลีกย่อยนั้นก็ควรจะศึกษาค้นคว้าเมื่อเริ่มมีพื้นฐานทางภาษาดีขึ้น ในโอกาสต่อไป

สำหรับผู้ที่ไม่เคยเรียนภาษาอื่นมาก่อนเลย ก็จะรู้สึกว่า ภาษาอังกฤษนี้ ยุ่งยากมาก แต่ถ้าเคยเรียนภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาเยอรมันมาก่อน ก็จะทราบดีว่า ภาษาเหล่านี้มีหลักเกณฑ์ทางภาษาที่คล้ายๆ กัน จะแตกต่างกันก็ที่ความหมายของคำศัพท์เท่านั้น

ในภาษาอังกฤษนั้น ทุกส่วนของประโยค (เช่น ประธาน กริยา หรือ กรรม) จะต้องมีความสัมพันธ์กันและเปลี่ยนแปลงไปตามโครงสร้างของชนิดประโยคนั้นๆ เช่น ภาษาไทยพูดว่า ผมไปตลาดมาแล้ว จะพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า

I go to the market already.

(ผม) (ไป) (ตลาด) (มาแล้ว)

อย่างนี้ถือว่า ผิดหลักไวยากรณ์ เพราะประโยคที่กล่าวมานี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตเมื่อประกอบเป็นรูปประโยคให้ถูกต้อง จะต้องอยู่ในรูปอดีตกาลเช่นนี้

I went to the market already.

(ไอ เว้นท ทู เธอะ มาร์เก็ต ออลรีดดี้)

โดยปกติแล้ว ภาษาทุกภาษาจะต้องมีประธาน (ผู้กระทำ) และกริยา) (คืออาการที่กระทำ) หรืออาจจะมีกรรม (คือผู้ถูกกระทำ) อย่างไรก็ตามถ้าฟังดูแล้วไม่รู้เรื่องหรือยิ่งงงมากขึ้นก็เอาไว้ศึกษาทีหลังก็ได้ ข้ามไปบทอื่นก่อน ตัวผู้เขียนเมื่อสมัยเป็นนักเรียนก็งงไปหมดไม่รู้ว่าอะไรคือผู้กระทำและอะไร คืออาการที่ถูกกระทำ แต่พอได้เห็นได้ฟังมากขึ้น ก็เริ่มจะเข้าใจในเวลาต่อมา แต่ถึงอย่างไรผู้เขียนก็จะขอหยิบยกส่วนสำคัญๆ ของภาษาอังกฤษไว้ในบทต้นๆ นี้ตามธรรมเนียมของบรมครูที่สืบทอดกันมานาน

ส่วนต่างๆ ของภาษาอังกฤษที่จำเป็นจะต้องเรียนรู้

1.คำนาม (Noun) 6. กริยาวิเศษณ์ (Adverb)

2. สรรพนาม (Pronoun) 7. คุณศัพท์ (Adjective)

3. ประธาน (Subject) 8. ประโยค (Sentence)

4. กริยา (Verb) 9. กาล (Tense)

5. กรรม (Object) 10. คำนำหน้านาม (Article = อาทิคึล)

1.NOUN(นาวน์)

คำนาม คือคำที่ใช้เป็นชื่อบุคคล สถานที่ และสิ่งของทั่วๆ ไป หน้าที่หลักของคำนาม คือใช้เป็น ประธาน และเป็น กรรม ของประโยคและใช้อักษรย่อว่า N. (ดูตัวอย่าง)

Malee goes to school. (Malee เป็นชื่อคนและเป็นประธาน)

I like Malee. (Malee ในที่นี้เป็นกรรม-ถูกชอบ)

2.PRONOUN(โพรนาวน์)

สรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวนามนั้นซ้ำอยู่บ่อยๆ ในภาษาไทยก็มี เช่น นายแดง เป็นคนดี เขาฉลาดมากด้วย (เขา เป็นคำสรรพนามเพราะแทนตัวนายแดง) และเมื่อมันใช้แทนคำนามได้ มันก็ย่อมทำหน้าที่แทนคำนามได้เช่นกัน กล่าวคือ ประธาน และ กรรม ของประโยคได้ แต่อาจเปลี่ยนรูปไปตามกฎเกณฑ์เท่านั้น

เราเรียกคำสรรพนาม ย่อๆ ว่า Pro. (ดูตัวอย่าง)

Daeng is a good boy and he is very clever.

(he เป็นคำสรรพนาม ใช้แทนคำว่า Daeng) คำที่เป็นสรรพนาม เช่น he, she, it, I, you, we, they, him me, mine, yours, etc.

คำสรรพนาม (Pronouns)

คำสรรพนามมีรูปต่างๆ ตามแต่หน้าที่ในประโยคนั้นๆ

ประธาน

กรรม

คุณศัพท์เจ้าของ

สรรพนามเจ้าของ

เน้นหรือย่ำ

I (ไอ)

we (วี)

you (ยู)

he (ฮี)

she (ชี)

it (อิท)

they (เธย์)

me (มี)

us (อัส)

you (ยู)

him (ฮิม)

her (เฮอ)

it (อิท)

them (เธ็ม)

my (มาย)

our (เอาเออะ)

your (ยัวร์ส)

his (ฮิส)

her (เฮอ)

its (อิทส)

theirs (แธร์)

mine (ไมน)

ours (เอาเออะส)

yours (ยัวร์ส)

his (ฮิส)

hers (เฮอร์ส)

its (อิทส)

theirs (แธร์ส)

myself (มายเซลฟ)

ourselves (เอาเออะเซลส)

yourself, yourselves

(ยัวเซลฟ/ยัวเซลส)

himself (ฮิมเซลส)

herself(เฮอเซลส)

itself (อิทเซลฟ)

themselves (เธ็มเซลส)

คำสรรพนามที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง

- Some (ซัม) - บางคน, บางอย่าง - any (เอ็นนิ) - บางคน, บางอย่าง

- None (นัน) - ไม่มีผู้ใด - all (ออล) - ทั้งหมด

- Someone (ซัมวัน) - บางคน - something (ซัมธิง) - บางสิ่ง

- Somebody (ซัมบอดิ) - บางคน - anybody - บางคน

- anyone (เอ็นนิวัน) - บางคน - few - นิดหน่อย

- everyone (เอ็ฟวริวัน) - ทุกคน - everything (เอ็ฟวริธิง) - ทุกสิ่ง

- many (เมนี่) - มาก - nobody (โนบอดี้) - ไม่มีใคร

- others (อัธเธ่อร์ส) - อื่นๆ

3.SUBJECT(ซับเจ็ค)

ประธาน คือคำที่ทำหน้าที่แสดงอาการ กล่าว พูด หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังนั้นประธานก็คือผู้กระทำสิ่งต่างๆ นั่นเองส่วนอาการที่ประธานแสดงออกมานั้น เราเรียกว่า กริยา (ซึ่งจะกล่าวถึงหลังจากนี้) และเมื่อมีประธาน ก็จะต้องมี กริยา ควบคู่กันไป จึงจะเป็นประโยคที่สมบูรณ์ เราใช้อักษรย่อเรียกประธานว่า Subj.

4.VERB (เวิบ)

กริยา คือ คำที่ใช้แสดงอาการกระทำของ คำนาม หรือ สรรพนาม เช่น แสดงอาการเดิน walking หรือวิ่ง running กริยา ก็มีทั้งกริยาแท้ (Main Verbs) และกริยาช่วย (Helping Verbs, Auxiliary Verbs)

- ตัวอย่างกริยาแท้ เช่น to go, to stay etc.

- ตัวอย่างกริยาช่วย เช่น is, will, have, etc.

(ถ้าต้องการรู้ว่า เมื่อไรจึงใช้กริยาแท้ หรือกริยาช่วย ต้องไปดูที่บทว่าด้วยการใช้ กาล = Tense)

5.OBJECT(อ็อฟเจ็ค)

กรรม คือ คำนาม หรือ สรรพนาม ที่เป็นผู้ถูกกระทำโดย ประธาน โดยมากคำที่เป็น กรรม นี้จะเรียงไว้หลังกริยาเสมอ เช่น

I hit the dog. (dog เป็นกรรมเพราะถูกตีโดย I)

อนึ่งพึงจำไว้ว่า ในทุกประโยค (SENTENCE) (จะกล่าวต่อไป) นั้น ไม่จำเป็นจะต้องมี กรรม เข้ามารองรับเสมอไป เพราะกริยา บางตัวไม่ต้องมีกรรม ก็ได้ความหมายสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเองแล้ว กริยาที่ต้องมีกรรม มารองรับเราเรียกว่า “กริยาเรียกหากรรม” หรือ “สหกรรมกริยา” “Tran-sitive Verb” ในภาษาอังกฤษ ในดิกชันนารี่จะมีอักษรย่อบอกไว้ว่า (vt.) ส่วนกริยาที่ไม่ต้องมีกรรม เราเรียกว่า “อกรรมกริยา” และในดิกชันนารี่จะใช้คำย่อว่า (vi.) ซึ่งมาจาก “Intransitive Verb” นั่นเอง

ข้อแตกต่างระหว่างกริยาที่ต้องมีกรรมและไม่ต้องมี

- กริยาที่ไม่ต้องมีกรรม เช่น นอน (sleep) หรือ ตาย (die) เมื่อเขาบอกว่า ตาย ก็ไม่ต้องถามว่าตายอะไรแล้ว เป็นอันรู้กัน

- กริยาที่ต้องมีกรรม เช่น กิน (eat) ถ้าบอกว่ากิน แน่นอน ต้องมีคนถามต่อไปว่ากินอะไร ดังนั้นจึงต้องมีกรรมรองรับ เช่น ข้าว หรืออะไรก็ได้ จึงเป็นรูปเต็มว่า I eat rice.

อนึ่งคำที่เป็น กรรม นี้ เราเรียกย่อๆ ว่า Obj.

6.ADVERB(แอ้ดเวิบ)

กริยาวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายกริยา และ คุณศัพท์ ให้เด่นชัดขึ้น เช่น บอกอาการ สถานที่ บอกจำนวนครั้ง หรือความมากน้อยเป็นต้น โดยปกติคำ กริยาวิเศษณ์ จะลงท้ายด้วย –ly เช่น quickly, usually, always, urgently, often, possibly, slowly etc. (ดูตัวอย่าง)

I walk slowly. (slowly ขยาย walk ให้รู้ว่าเดินช้าๆ) เราเรียก กริยาวิเศษณ์ ย่อๆ ว่า Adv.

7.ADJECTIVE(แอ็ดเจ็คทีฟ)

คุณศัพท์ คือคำที่ขยาย คำนาม หรือ สรรพนาม ให้เด่นชัดขึ้น เช่น บอกสีต่างๆ ความสูงต่ำ หรือ จำนวน เป็นต้น คำเหล่านี้ได้แก่ red, white, black, few, little, short, tall, short, tall, high, many, good, bad etc.

คำคุณศัพท์ นั้นมีให้เห็นอยู่บ่อยๆ (ดูตัวอย่าง)

He is a good boy. (good ขยาย boy ให้รู้ว่าเขาเป็นคนดี)

เราเรียกคำ คุณศัพท์ ย่อๆ ว่า Adj. โดยปกติ คำคุณศัพท์ จะเรียงไว้หน้านาม เสมอนอกจากกรณีที่อยู่หลังกริยาช่วย Verb to be เช่น

A boy is good. (good อยู่หลังกริยาช่วย verb to be)

8.SENTENCE(เซ็นเท็นส)

ประโยค คือกลุ่มคำที่มีความหมายสมบูรณ์ และรู้ได้ว่า ใครทำอะไร ดังนั้น ส่วนประกอบของ ประโยค หนึ่งๆ อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย

ประธาน(subject) + กริยา(verb)

หรือ

ประธาน(subject) + กริยา(verb) + กรรม(obj)

(ดูตัวอย่าง)

1. He sleeps. (Subj.) + (Verb)

2. He speaks English. (Subj.) + (Verb) + (Obj.)


9.TENSE(เท็นส)

กาล หรือเวลานี้มีไว้เพื่อบอกให้รู้ว่า เหตุการณ์นั้นๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว กำลังเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นทุกภาษาจึงต้องมีกาล ประกอบอยู่ด้วย กาล แบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ 3 คือ

1. ปัจจุบันกาล - (Present Tense)

2. อดีตกาล - (Past Tense)

3. อนาคต - (Future Tense)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น