วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

FUTURE TENSE

FUTURE TENSE

อนาคตกาล

9. Future Simple Tense (อนาคตกาลธรรมดา)

Subj. + will, shall + V (1)


โครงสร้าง

การใช้อนาคตกาลธรรมดา

ใช้กล่าวถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยมากจะมี คำกริยาวิเศษณ์ เหล่านี้อยู่ด้วยคือ tomorrow, next week, next month, next year etc. เช่น

I will write love letters tomorrow.

- ฉันจะเขียนจดหมายรักพรุ่งนี้

10. Future Continuous Tense (อนาคตกาลกำลังกระทำอยู่)

Subj. + will, shall + be + V-ing


โครงสร้าง

การใช้อนาคตกาลกำลังกระทำอยู่

1. ใช้แสดงการกระทำในอนาคตที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป โดยไม่มีการวางแผนมาก่อน เช่น

The bus will not be passing by our house, we have to get off here.

- รถประจำทางไม่ผ่านข้างบ้านของเรา พวกเราต้องลงที่นี่

2. ที่สำคัญยังใช้แสดงถึงการกระทำที่จะเกิดขึ้นเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตอย่างแน่นอนได้ด้วย และโดยปกติจะระบุเวลาให้ทราบแน่นอน เช่น

We shall be sleeping by the time you return.

- เราจะนอนก่อนที่คุณจะกลับมา

11. Future Perfect Tense (อนาคตกาลสมบูรณ์)

Subj. + will, shall + have + V (3)


โครงสร้าง

การใช้อนาคตกาลสมบูรณ์

ใช้ในกรณีที่เหตุการณ์นั้นจะสมบูรณ์ในอนาคต เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าถ้าถึงตอนนั้น เวลานั้น สิ่งที่ทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะสำเร็จเรียบร้อย ทั้งๆ ที่ขณะที่พูดนั้น เหตุการณ์นั้นจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม เช่น

The play will have started before we reach the theater.

- ละครคงเริ่มแสดงแล้วก่อนที่เราจะไปถึงโรงละคร

12. Future Perfect Continuous Tense

(อนาคตกาลสมบูรณ์แต่กำลังกระทำอยู่)

Subj. + will, shall + have + been + V-ing


โครงสร้าง

การใช้อนาคตกาลสมบูรณ์แต่กำลังกระทำอยู่

การใช้นั้นก็แบบเดียวกันกับ Future Perfect Tense แต่มีจุดต่างกันที่ Future Perfect Continuous Tense นี้จะแสดงถึงความต่อเนื่อง ของการกระทำ หรือเหตุการณ์ในอนาคต โดยมากจะมีค่าว่า “By” ที่แปลว่า “ก่อน” อยู่ด้วย เช่น

By next month, I shall have been graduating from Mahidol University.

- ก่อนเดือนหน้า ฉันก็จะจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อสังเกต !


กริยาอปกติ 3 ช่อง

หรือที่เรียกว่า “Irregular Verbs” โดยปกติในภาษาอังกฤษถ้าคำกริยาเป็นปัจจุบันกาลเราก็จะเติม s หรือ es ในกรณีที่ประธานเป็นเอกพจน์ และไม่ต้องเติมอะไรเลย ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ (ยกเว้น I ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษ) แต่ถ้าเป็นอดีตกาล คำกริยาส่วนใหญ่ จะต้องเติม ed ไว้ท้ายคำเช่น wanted ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า กริยาเป็นปกติ หรือ “Regular Verb” แต่ก็ยังมีคำกริยาบางจำพวกที่เราเรียกว่า “กริยาอปกติ” เพราะเหตุว่ากริยาพวกนี้ เมื่อเป็นอดีตกาล และเป็นกริยาช่องที่ 3 (Past Participle) จะกลายรูปไปโดยสิ้นเชิง เช่น

ปัจจุบันกาล อดีตกาล กริยาช่องที่ 3 (V3)

go went gone = ไป

อนึ่งกริยาพวกนี้ ต้องอาศัยท่องจำหรืออ่านบ่อยๆ ก็จะคุ้นเคยไปเอง (พึงศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราไวยากรณ์ทั่วไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น