วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง-คำขอร้องและคำขออนุญาต (Orders and Requests)

คำสั่ง-คำขอร้องและคำขออนุญาต (Orders and Requests)

1. ประโยคคำสั่ง

1. ประโยคคำสั่งนิยมใช้กับผู้ที่เด็กกว่า หรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา และแสดงได้โดยการใช้คำกริยาแท้ (Main Verb) ขึ้นต้นประโยค เช่น

(1) Come here! (คัม เฮียร์)

มานี่ซิ

(2) Go away! (โก อเวย์)

ออกไป

(3) Shut the door! (ชัท เธอะ ดอร์)

ปิดประตูซะ

2. อนึ่งถ้าคำต้นเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) ให้เติม Be ข้างหน้าคำนั้น เช่น

(4) Be careful. (บี แคร์ฟุล)

ระวังนะ

(5) Be quiet. (บี ไควเอ็ท)

เงียบหน่อย

3. ในกรณีที่ต้องการสั่งคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะก็ให้ระบุชื่อผู้นั้นไว้ที่ต้นประโยค หรือท้ายประโยคก็ได้ เช่น

Vichai, carry this luggage to my room.

(วิชัย แคริ ธิส ลักกิจ ทู มาย รูม)

วิชัย เอาประเป๋านี้ไปไว้ที่ห้องผมด้วย

4. ถ้าต้องการสั่งห้าม ให้เติม Don’t ไว้ข้างหน้าคำกริยาแท้ เช่น

(1) Don’t go there. (โด้นท โก แธร์)

อย่าไปที่นั่น

(2) Don’t talk too much. (โด้นท ทอค ทู มัช)

อย่าพูดมากไปเลย

2. ประโยคขอร้อง

1. ความจริงแล้วประโยคคำสั่งและคำขอร้องนี้ มีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ ถ้าเราเติมคำว่า “Please (พลีส)” หรือ “will you (วิล ยู)” ลงในในประโยคคำสั่ง ก็จะกลายรูปเป็นประโยคขอร้องทันที เช่น

ประโยคคำสั่ง : Shut the door!

(ชัท เธอะ ดอร์)

ปิดประตู

ประโยคคำขอร้อง : (1) Please shut the door

(พลีส ชัท เธอะ ดอร์)

กรุณาปิดประตูหน่อย

(2) Will you please shut the door?

(วิล ยู พลีส ชัท เธอะ ดอร์)

คุณจะกรุณาปิดประตูหน่อยได้ไหมครับ

(3) Would you please shut the door?

(วูด ยู พลีส ชัท เธอะ ดอร์)

คุณจะกรุณาปิดประตูหน่อยได้ไหมครับ

*ข้อสังเกต !

คำว่า “will” และ “would” นี้ไม่ได้เป็นประโยคคำถามแต่อย่างใดเลย หากแต่เป็นการแสดงความสุภาพมากขึ้นอีกเท่านั้น

2. การขอร้องโดยใช้โครงสร้างประโยค

Would you mind + กริยา-ing เช่น

Would you mind opening the window?

(วูด ยู ไมนด โอเพ่นนิ่ง เธอะ วินโดว์)

คุณจะกรุณาเปิดหน้าต่างหน่อยได้ไหมครับ

ประโยคนี้ดูคล้ายๆ ประโยคคำถาม แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นประโยคคำถาม หากแต่เป็นประโยคขอร้องอย่างสุภาพ ว่าจะขัดข้องในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่

การตอบประโยคขอร้องอย่างสุภาพ ถ้าเราไม่รังเกียจที่จะทำอย่างที่เขาขอร้องจะตอบว่า Yes ไม่ได้ จะต้องตอบในทางปฏิเสธเสมอ เพราะถ้าตอบ Yes จะกลายเป็นว่า เรารังเกียจเขา ดังนั้น ควรตอบดังนี้

(1) Not at all. - ไม่เป็นไรครับเปิดก็ได้

(น็อท แอท ออล)

(2) Of course not. - ไม่เป็นไรครับเปิดก็ได้

(ออฟ คอส น็อท)

(3) Certainly not. - ไม่เป็นไรครับ

(เซอเท่นลี่ น็อท)

(4) I’d be glad to. - ด้วยความยินดีครับ

(ไอด บี แกลด ทู)

(5) Of course. - แน่นอนครับน

(ออฟ คอส)

(6) O.K. (โอเค) - ตกลงครับ

(7) Certainly. - แน่นอนครับ

(เซอเท่นลี่)

(8) All right. - ตกลงครับ

(ออลไร้ท)

(9) With pleasure. - ด้วยความยินดีครับ

(วิธ เพลสเชอะ)

ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่อยากทำตามอย่างที่เขาขอร้องเราก็ตอบโดยให้เหตุผลว่าทำไม เช่น

คำของร้อง : Would you mind opening the window?

(วูด ยู ไมนด โอเพนนิ่ง เธอะ วินโดว์)

คุณจะกรุณาเปิดหน้าต่างให้หน่อยได้ไหมครับ

ตกลงตามคำขอ : Certainly not.

(เซอเท่นลี่ น็อท)

ไม่เป็นไรครับเปิดก็ได้

ไม่ตกลงตามคำขอ : I’m sorry, but the wind is too strong

(ไอม ซ้อรี่ บัท เธอะ วินด อีส ทู สตรอง)

ผมเสียใจครับแต่ลมแรงเกินไป

หรือ

I’m afraid I can’t. I don’t like strong wind.

(ไอม อเฟรด ไอ ค้านท ไอ โด้นท ไลค สตรอง วินด)

ผมเกรงว่าจะไม่ได้ ผมไม่ชอบลมแรง

3. ประโยคขออนุญาต

การสร้างประโยคขออนุญาตอาจทำได้โดยการประกอบประโยคตามโครงสร้างนี้

Would you mind + if - clause (กริยาเป็นอดีต) เช่น

Would you mind if I opened the window?

(วูด ยู ไมนด อิฟ ไอ โอเพ่น เธอะ วินโดว์)

คุณจะรังเกียจไหม ถ้าผมจะขออนุญาตเปิดหน้าต่างครับ

ตกลง : Not at all.

(น็อท แอท ออล)

ไม่เป็นไรตามสบายเลยครับ

ลักษณะการตอบก็คล้ายๆ กับประโยคขอร้องเพราะประโยคขอร้องและประโยคขออนุญาตนั้นมีลักษณะคล้ายๆ กัน ดังนั้นเวลาตอบถ้าไม่ตกลวตาที่ขอก็ควรตอบว่า

1. I’m sorry but………(ให้เหตุผล)

2. I’m afraid I can’t………(ให้เหตุผล)

ตามมรรยาทแล้ว เราไม่ควรปฏิบเสธการขอร้องของเขาแต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ปฏิเสธไปตามข้างบนนั้น แต่ถ้าตกลงตามที่เขาขอร้องก็ตอบว่า

1. Not at all.

2. Certainly not. ไม่เป็นไรตามสบายเลยครับ

3. All right.

4. Go ahead. (โก อะเฮด)

ตามสบาย

5. Yes, you can. (เยส ยู แคน)

ตามสบายครับ

6. Yes, please. (เยส พลีส)

ตามสบายครับ

อย่างไรก็ตามถ้าจะของความช่วยเหลือจากผู้อื่น โดยการขอร้องให้เขาทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้ เราอาจใช้ประโยคในลักษณะนี้

(1) Will you do me a favour?

(วิล ยู ดู มี อะ เฟเว่อร์)

ข่วยทำอะไรให้ผมหน่อยได้ไหมครับ

(2) Would you do me a favour?

(วูด ยู ดู มี อะ เฟเว่อร์)

ข่วยทำอะไรให้ผมหน่อยได้ไหมครับ

(3) May I ask a favour of you?

(เมย์ ไอ อาสค อะ เฟเว่อร์ ออฟ ยู)

คุณช่วยผมทำอะไรสักอย่างหนึ่งได้ไหมครับ

(4) I wonder id you’d do me a favour?

(ไอ วันเดอร์ อิฟ ยูด ดู มี อะ เฟเว่อร์)

ฟมไม่แน่จใจว่าคุณจะช่วยเหลือผมสักอย่างหนึ่งได้หรือไม่

การตอบประโยคลักษณะนี้

ถ้าเรายินดีที่จะทำตามที่เขาขอก็อาจจะตอบว่า

1. Of course. (ออฟ คอส)

ได้ครับ

2. I’d be glad to.

(ไอด บี แกลด ทู)

ด้วยความยินดีครับ

3. Certainly. (เซอเท่นลี่)

ได้เลยครับ

แต่ถ้าเราไม่แน่ใจว่าจะทำตามที่ขอได้หรือไม่ก็อาจจะตอบในลักษณะแบ่งรับแบ่งสู้ดังนี้

1. Certainly, if I can.

(เซอเท่นลี่ อิฟ ไอ แคน)

ได้เลยถ้าผมทำให้ได้

2. Certainly. What is it?

(เซอ เท่นลี่ ว็อท อีส อิท)

ได้ซิครับ มันคืออะไรล่ะ

3. I’d by glad to. What is it?

(ไอด บี แกลด ทู ว็อท อีส อิท)

ด้วยความยินดีครับ มันคืออะไรล่ะ

ดูตัวอย่างบทสนทนาประกอบบทนี้

1. ประโยคคำสั่ง A : Close the door.

B. : Yes, sir.

2. ประโยคขอร้อง A : Will you please close the door?

B : Certainly.

3. ประโยคขออนุญาต A : Would you mind if I closed the door.

B : Not at all.

1 ความคิดเห็น: