วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

การบอกวัน เดือน ปี (Date)

การพูดถึงวัน เดือน ปี เป็นเรื่องที่ใช้อยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องท่องจำ วัน และเดือนต่างๆ ให้ได้ นอกจากนี้ยังต้องทำความเข้าใจกับเรื่อง ปี อีกด้วย จึงจะเป็นการเรียนภาษาที่สมบูรณ์

คำถามเกี่ยวกับ วันที่ วัน และเดือน

(1) What day is to day

(ว็อท เดย์ อีส ทู เดย์)

วันนี้เป็นวันอะไร

(2) What is the date?

(ว็อท อีส เธอะ เดท)

วันนี้วันที่เท่าไหร่

(3) What day of the week is it?

(ว็อท เดย์ ออฟ เธอะ วีค อีส อิท)

วันนี้เป็นวันอะไรของสัปดาห์

(4) What day of the month is it?

(ว็อท เดย์ ออฟ เธอะ มันธ อีส อิท)

วันนี้ เป็นที่เท่าไหร่ของเดือน

Week (วีค) = สัปดาห์

1. วันอาทิตย์ = Sunday (ซันเดย์)

2. วันจันทร์ = Monday (มันเดย์)

3. วันอังคาร = Tuesday (ทิ้วสเดย์)

4. วันพุธ = Wednesday (เว้นสเดย์)

5. วันพฤหัสบดี = Thursday (เธิ้สเดย์)

6. วันศุกร์ = Friday (ไฟรเดย์)

7. วันเสาร์ = Saturday (แซ็ทเทอะเดย์)

Months (มันธ์ส)

1. มกราคม = January (แจนยูเออะรี่) คำย่อ Jan.

2. กุมภาพันธ์ = February (เฟ็บบรูเออะรี่) Feb.

3. มีนาคม = March (มาร์ช) Mar.

4. เมษายน = April (เอพริ่ล) Apr.

5. พฤษภาคม = May (เมย์) ไม่นิยมย่อ

6. มิถุนายน = June (จูน) ไม่นิยมย่อ

7. กรกฎาคม = July (จูลาย) ไม่นิยมย่อ

8. สิงหาคม = August (ออกัสท) Aug.

9. กันยายน = September (เซ็พเท็มเบอร์) Sept.

10. ตุลาคม = October (อ็อคโตเบอร์) Oct.

11. พฤศจิกายน = November (โนเว็มเบอร์) Nov.

12. ธันวาคม = December (ดีเซ็มเบอร์) Dec.

การเขียนวัน เดือน ปี อาจเขียนได้ดังนี้

November 16, 1995

หรือ

16 November 1995

หรือ

16 th November 1995

หรือจะใช้แบบอเมริกันเอาเดือนไว้ต้น

11-16-95

หรือ 11/16/95 อ่านว่า (อีเลฟวึน ซิคทีน ไนนตี้ ไฟว)

หรือ 11.16.95

การอ่านวัน เดือน ปี มีหลักเกณฑ์ดังนี้

(1) การอ่านเลขวันที่ให้อ่านเป็น เลขอันดับที่ ถึงแม้ว่าจะเขียนเป้นเลขธรรมดาก็ตาม เช่น 1 2 3 4......... ก็อ่านเป็น First (เฟิสท), Second (เซคันด), Third (เธิดร์ด) fourth (ฟอร์ธ).........

บางครั้งก็เขียนเป็น 1st, 2nd, 3rd และ 4th………

November 16, 1995

อ่านว่า

It is November the sixteenth of nine-teen ninety-five.

(อิท อีส โนเว็มเบอร์ เธอะ ซิคทีนธ ออฟ ไนนทีน ไนนตี้-ไฟว)

(2) การอ่าน ค.ศ. ให้อ่านทีละคู่ ยกเว้นที่มี 00 อยู่ท้ายให้อ่านรวมกันตามเลขหลักนั้นๆ

1995 อ่านว่า “nineteen ninery-five”

(ไนนทีน ไนนตี้-ไฟว)

1906 อ่านว่า “nineteen-o-six/หรือ nineteen six”

(ไนนทีน-โอ-ซิคซ์ หรือ ไนนทีน-ซิคซ)

1000 อ่านว่า “one thousand” (วัน เธาซันด)

1800 อ่านว่า “eighteen hundred” (เอททีน ฮันเดรด)

2000 อ่านว่า “two thousand” (ทู เธาซันด)

A. D. / B. C. และ B. E.

(1) A. D. (เอ. ดี.)

ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” แปลว่า “in the year of our Lord” คือ คริสต์ศักราช หรือเรียกย่อๆ ว่า ค.ศ. จะวางไว้หน้าหรือหลังเลขก็ได้ เช่น

1995 A. D. อ่านว่า

“nineteen ninety-five A.D.”

(ไนนทีน ไนนตี้-ไฟว เอ ดี)

หรือวาวไว้หน้า เช่น A. D. 1995

(2) B. C. (บี.ซี.)

ย่อมาจากคำว่า “Before Christ” แปลว่า “ก่อนพระเยซูประสูติ) และนยมวางไว้หลังตัวเลข เช่น

520 B. C. อ่านว่า

“five twenty B. C.”

(ไฟว ทเว็นตี้ บี ซี)

(3) B. E. (บี.อี.)

ย่อมาจากคำว่า “Buddihst Era” แปลว่า “พุทธศักราช” หรือ “พ.ศ.” นิยมวางไว้หน้าตัวเลข เช่น

B. E. 2537 อ่านว่า

“B. E. twenty-five thirty-seven”

(บี.อี. ทเว็นตี้-ไฟว เธอร์ตี้ เซวึ่น)

แต่โดยปกติแล้วเราไม่นิยมใช้ ถ้าเนื้อความนั้นเป็นภาษาอังกฤษก็จะต้องแปลเป็นคริสต์ศักราชทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน และเราสามารถเปลี่ยนแปลงโดยวิธีง่ายๆ เช่น

(1) ถ้าต้องการเปลี่ยนพุทธศักราช เป็นคริสต์ศักราช ก็ใช้ 543 มาลบ เช่น พ.ศ. 2537543 = 1994

(2) ในทำนองเดียวกันถ้าต้องการเปลี่ยนคริสต์ศักราช มาเป็นพุทธศักราช ก็ใช้ 543 มาบวก เช่น ค.ศ. 1994 + 543 = พ.ศ. 2537

ศัพท์และสำนวนเกี่ยวกับเวลาอาจแบ่งออกได้ดังนี้

1. บ่งบอกความเป็นอนาคตกาล

(1) Soon (ซุน) = เร็วๆ นี้

(2) Shortly (ซอทลิ) = เร็วๆ นี้, ไม่นานนี้

(3) Someday (ซัมเดย์) = สักวันหนึ่ง

(4) Some time (ซัม ไทม) = สักเวลาหนึ่ง

(5) In a few days (อิน อะ ฟิว เดย์ส) = ในอีก 2 – 3 วัน

(6) After a while (อ๊าฟเตอร์ อะ ไวล) = สักพักหนึ่ง

(7) The day after tomorrow (เดอะ เดย์ อ๊าฟเตอร์ ทูมอร์โร่ว) = มะรืนนี้

(8) A week from today (อะ วีค ฟรอม ทูเดย์) = อีกสัปดาห์หนึ่งนับจากวันนี้ไป

(9) A few weeks from now (อะ ฟิว วีคส ฟรอม นาว) = อีก 2 – 3 สัปดาห์นับจากนี้ไป

(10) Some other day (ซัม อัธเธ่อร์ เดย์) = วันหลัง

(11) This weekend (ธิส วีคเอ็นด) = สุดสัปดาห์นี้

(12) In the future (อิท เธอะ ฟิวเจ่อร์) = ในอนาคต

2. บ่งบอกความเป็นอดีตกาล

(1) a few days ago (อะ ฟิว เดย์ส อะโก) = สองสามวันมาแล้ว

(2) not long ago (น็อท ลอง อะโก) = เมื่อไม่นานมานี้

(3) some time ago (ซัม ไทม อะโก) = ชั่วระยะหนึ่งมาแล้ว

(4) one time (วัน ไทม) = ครั้งหนึ่ง

(5) recently (รีเซ่นทลี่) = เร็วๆ มานี้

(6) the other day (ธิ อัธเธ่อร์ เดย์) = วันก่อนนี้

(7) the year before (เธอะ เยียร์ บีฟอร์) = ปีก่อนนี้

(8) last week (ล้าสท วีค) = สัปดาห์ที่แล้ว

(9) in the past (อิน เธอะ พาสท) = ในอดีต

(10) lately (เล็ทลี่) = เมื่อเร็วๆ นี้

3. บ่งบอกความเป็นปัจจุบัน

(1) Now (นาว) = เดี๋ยวนี้

(2) At the moment (แอท เธอะ โมเม้นท) = ในขณะนี้

(3) Right now (ไร้ท นาว) = เดี๋ยวนี้

(4) At present (แอท พริเซ็นท) = ปัจจุบันนี้, ในขณะนี้

(5) Today (ทูเดย์) = วันนี้

(6) This time (ธิส ไทม) = เวลานี้

นอกจากนี้ ยังมีคำบอกเวลาอื่นๆ เช่น

(1) Decade (เด็คเคค์) = ทศวรรษ หรือ 10 ปี

(2) Century (เซ็นชิวริ) = ร้อยปี หรือ ศตวรรษ

(3) Era (อีระ) = ยุคสมัย หรือ ศักราช

2 ความคิดเห็น: