วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การแนะนำให้รู้จักกัน (Introductions)

การแนะนำให้รู้จักกัน (Introductions)

การแนะนำให้บุคคลรู้จักกันถือเป็นมารยาทที่ดีทางสังคม และควรถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ และที่สำคัญคือ ไม่ควรมองข้ามกฎเกณฑ์เล็ก ๆ น้อย ๆ อันจะทำให้ภาพพจน์ที่ดีของเราเสียหายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ในการแนะนำให้คนทั้งสองรู้จักกันนั้น เราควรเอ่ยชื่อ คนที่เป็นผู้ใหญ่ หรือมีตำแหน่งสูงกว่าก่อน แต่ถ้าเป็นหญิงกับชายที่มีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน เราควรให้เกียรติแก่สุภาพสตรีก่อน และการแนะนำกันนั้น ก็มีหลายรูปแบบ เช่น

(1) Mr. Vichai, may I introduce Mr.Bancha. (มิสเตอร์วิชัย เมย์ ไอ อินโทรดิวส มิสเตอร์บัญชา) = คุณวิชัยครับ ผมขอแนะนำให้รู้จักกับคุณบัญชา

(2) Miss Amphai, let me introduce Mr.Prasit. (มิสอำไพ เล็ท มี อินโทรดิวส มิสเตอร์ประสิทธิ์)

= คุณอำไพครับ ผมขอแนะนำให้รู้จักกับคุณประสิทธิ์ครับ

(3) Miss Amphai, I’d like you to meet Mr.Thanapol. (มิสอำไพ ไอด ไลค ยู ทู มีท มิสเตอร์ธนพล) = คุณอำไพครับ ผมอยากแนะนำให้รู้จักกับคุณธนพลครับ

(4) Miss Amphai, this is Mr.Thanapol. (มิสอำไพ ธิส อีส มิสเตอร์ ธนพล)

= คุณอำไพครับ นี่คือคุณธนพลครับ

อนึ่งเมื่อมีการแนะนำให้บุคคลทั้งสองรู้จักกัน แล้วผู้แนะนำก็จะกล่าวต่อไปว่า ผู้ที่เขาแนะนำนี้เป็นใคร ทำอะไรอยู่ที่ไหน เหล่านี้ เป็นต้น เช่น

Mrs Ladda, let me introduce Mr.Roger Aslin, an old friend of mine. Mrs.Ladda is the Managing Director of my company.

(มิสซิซ ลัดดา เล็ท มี อินโทรดิวส มิสเตอร์ โรเจอร์ แอสลิน แอน โอลดเฟร็นด ออฟ ไมน มิสซิซ ลัดดา อีส เธอะ แม็นนิจจิ้ง ไดเร็คเตอร์ ออฟ มาย คัมพึนิ)

คุณลัดดาครับ ผมขอแนะนำให้รู้จักคุณโรเจอร์ แอสลิน ผู้ซึ่งเป็นเพื่อนเก่าของผมเองครับ คุณลัดดาเป็นกรรมการผู้จัดการของผมเอง (บริษัทที่ผมทำงานอยู่)

หลังจากที่ได้รับการแนะนำให้รู้จักกันแล้วทั้งสองฝ่ายก็จะจับมือกันพร้อมทั้งทักทายกันว่า

How do you do? (ฮาว ดู ยู ดู) = สวัสดีครับ / สวัสดีค่ะ

อีกฝ่ายหนึ่งก็จะกล่าวตอบว่า How do you do? เช่นเดียวกัน แต่อย่าตอบว่า Fine thank you. เด็ดขาด เพราะประโยคว่า Fine, thank you. ใช้ตอบในกรณีที่เขาทักทายเราว่า How are you? เท่านั้น ห้ามใช้ผิดเป็นอันขาด

เมื่อทักทายกันว่า How are you? แล้วก็อาจจะมีการพูดเพิ่มเติมอีกว่า

(1) I’m glad to meet you. (ไอม แกลด ทู มีท ยู)

= ผมดีใจที่ได้พบคุณครับ

(2) Glad to know you. (แกลด ทู โนว์ ยู)

= ดีใจที่ได้รู้จักคุณครับ

(3) Mr. Thanapol often mentions you to me. (มิสเตอร์ธนพล ออฟึน เม็นซึน ยู ทู มี)

= คุณธนพลพูดถึงคุณ ให้ดิฉันฟังอยู่บ่อย ๆ

(4) I’ ve heard a great deal about you from Mr. Thanapol. (ไอฟว เฮิด อะ เกร็ท ดีล อะเบาท ยู ฟร์อม มิสเตอร์ธนพล)

= ดิฉันได้ยินเกี่ยวกับคุณมาจากคุณธนพล

ดูตัวอย่างสนทนาประกอบ

Mr.Thanapol : Mrs.Ladda, let me introduce Mr.Roges Aslin, an old friend of mind.

Mrs.Ladda is the Managing Director of my company.

Mrs.Ladda : How do you do?

Mr.Roger Aslin : How do you do?

Mrs.Ladda : I’ ve heard a great deal about you from Mr.Thanapol.

Mr.Roger Aslin : I’ m glad to meet you. Here is my card.

ในบางกรณีเราก็ต้องแนะนำตัวเอง เช่น ในงานเลี้ยงที่มีแขกเป็นจำนวนมาก เพราะเจ้าภาพงานเลี้ยงอาจไม่สามารถแนะนำได้ทั่วถึงทั้งภายในงาน ได้ ซึ่งเราสามารถพูดได้ดังนี้

(1) Excuse me. My name is Vichai. (อิกสคิ้วส มี มาย เนม อีส วิชัย)

= ขอโทษครับ ผมชื่อวิชัยครับ

(2) Let me introduce myself. My name is…. (เล็ท มี อินโทรดิ้วส มายเซล มาย เนม อีส..) = ผมขออนุญาตแนะนำตนเองครับ ผมชื่อ ......

(3) I don’t think we’ve met. My name is ….. . (ไอ โด้นท ธิง วิฟว เม็ท มาย เนม อีส ...)

= ผมไม่คิดว่าเราจะเคยพบกันมาก่อนนะครับ ผมชื่อ ..........

อนึ่งคำทักทายว่า “How do you do?” นี้ไม่มีคำแปลในภาษาไทยให้ตรงได้ แต่ก็ควรแปลว่า สวัสดีครับ / สวัสดีค่ะ ดูจะตรงตามความหมายมากที่สุด และใช้ คำว่า “How do you do?” ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการเริ่มต้นการทักทาย และเป็นการแสดงการให้เกียรติกับผู้ที่ได้ร่วมสนทนาด้วย

จะเห็นว่า ในภาษาอังกฤษ ก็มีกฎเกณฑ์ การทักทาย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่การเริ่มต้น เจอะเจอกัน จึงเห็นได้ว่า ไม่ได้มีแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ให้ความสำคัญกับการทักทาย ในต่างประเทศก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน

1 ความคิดเห็น: